ระเบียบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
4.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย
6.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้
7.การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8.ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
10.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
11.นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12.นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13.นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง
1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู
2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย
3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใดๆทั้งสิ้น
4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า
5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น


ระเบียบข้อปฏิบัติระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน
3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง
4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด
5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน
6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์

สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552
ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้
สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ
1. สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง
2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า
4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี
5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน
6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา
7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย
8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง
9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง โครงสร้างของพืช ภาคเรียนที่ 1/2552
เรื่อง การตอบสนองของพืช เวลา 2 ชั่วโมง
สาระการเรียนรู้รายปี
ทดลองเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่ แสง เสียง สัมผัส
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า ได้แก่ แสง เสียง สัมผัส
ความคิดรวบยอด
พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แสง เสียง สัมผัส อุณหภูมิความชื้น เป็นต้น เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และไม่ให้สูญพันธุ์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถบอกได้ว่า พืชมีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้
2. นักเรียนสามารถอธิบายการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของพืชได้
สาระการเรียนรู้
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับตัวให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น
ต้นไมยราบ ต้นกระบองเพชร
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูให้นักเรียนศึกษาภาพการตอบสนองของพืช จากสื่อที่ครูนำมาแล้วให้นักเรียนบอกว่าชื่อต้นไม้ที่นักเรียนเคยพบนอกเหนือจากที่ครูนำมา
ขั้นสอน
1. ครูให้นักเรียนศึกษาถึงการตอบสนองของพืชว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะอะไร
2. ครูถามนักเรียนว่า แสง เสียง สัมผัส อุณหภูมิ ความชื้น มีผลต่อการตอบสนองของพืช จากนั้นครูให้นักเรียนเลือกศึกษาพืชที่สนใจมา 1 อย่างแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงการตอบสนองของพืชว่ามีอะไรบ้าง พร้อมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และไม่ให้สูญพันธุ์
สื่อการเรียนการสอน
1. ภาพการตอบสนองของพืช
2. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ของ อจท.ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การประเมินผล
วิธีการวัด
1. สังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน
2. สังเกตการทำกิจกรรมในห้องเรียน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สัตว์ที่เรารัก ภาคเรียนที่ 1/2552
เรื่อง สัตว์เจริญเติบโต เวลา 1 ชั่วโมง
สาระการเรียนรู้รายปี
อธิบายการให้กำเนิดลูกของสัตว์ และการเจริญเติบโต
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายเกี่ยวกับการให้กำเนิดลูกของสัตว์และการเจริญเติบโต
ความคิดรวบยอด
เมื่อสัตว์เจริญเติบโตเต็มวัยแล้ว สามารถสืบพันธุ์ได้ สัตว์บางชนิดออกลูกเป็นตัวสัตว์บางชนิดออกลูกเป็นไข่ ไข่บางชนิดมีเปลือกหุ้มแข็ง ไข่บางชนิดไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอธิบายการให้กำเนิดลูกสัตว์ และการเจริญเติบโต
สาระการเรียนรู้
สัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว และสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ สัตว์ที่ออกลูกเป็นตัวส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ฮิปโปโปเตมัส ลิงอุรังอุตัง ช้าง หมู
สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีหลายชนิด ซึ่งไข่ของแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ไก่ เป็ด นก ห่าน งู จระเข้ แมลงสาบ ตั๊กแตน กบ ปลา เป็นต้น
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูให้นักเรียนศึกษาจากรูปในหนังสือเรียนว่ามีอะไรบ้างที่ออกลูกเป็นตัว และมีอะไรบ้างที่ออกลูกเป็นไข่
ขั้นสอน
1. ครูให้นักเรียนศึกษาถึงการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตว่าเป็นอย่างไร
2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มโดยนับ 1-3 จากนั้นให้คนนับเหมือนกันอยู่ด้วยกันแล้วแบ่งกลุ่มให้นักเรียนแล้วให้นักเรียนไปศึกษาว่าสัตว์ที่กลุ่มตัวเองได้เลือกไว้
3. ครูให้นักเรียนวาดรูปสัตว์ที่นักเรียนได้มานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตว่าเป็นอย่างไร
สื่อการเรียนการสอน
1. ภาพการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
2. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ของ อจท.ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3. ใบงานที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์
การประเมินผล
วิธีการวัด
1. สังเกตพฤติกรรมในห้องเรียน
2. สังเกตการทำกิจกรรมในห้องเรียน
3. ใบงานที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์

บุคลากรในโรงเรียน

ประมวลภาพ

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ